Q&A from iThesis Webinar

Q&A from iThesis Webinar - คำถามคำตอบจาก iThesis Webinar

ทีมงานได้จัดทำคำถามคำตอบที่ท่านผู้เข้าร่วม Live iThesis Webinar ที่จัดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ได้คอมเม้นสอบถาม 

ท่านสามารถชม Live ย้อนหลังได้ทั้งช่องทาง Youtube และ Facebook 

การติดตั้ง iThesis Office Add-in


Q: iThesis Add-in ติดตั้งอย่างไร ?

A: เข้า Office Store ผ่าน Microsoft Word ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ ไปที่ Add-in หรือ Office store ค้นคำว่า ithesis แล้วกด add 

สามารถดูวิธีการติดตั้งและใช้งาน iThesis Office Add-in ได้ที่นี่ 

Q: เข้า Email ของมหาวิทยาลัยจะขึ้น Microsoft 365 ให้ดาวน์โหลด add-in จากตรงนั้นใช่หรือไม่ ?

A: กรณีติดตั้ง Microsoft 365 บนคอมพิวเตอร์แล้ว ให้เปิด Microsoft Word แล้วเข้าที่ Add-in หรือ Office store ค้นคำว่า ithesis แล้วกด add หากยังไม่ติดตั้ง Microsoft 365 ให้ติดตั้งก่อนโดยดาวน์โหลดตัวติดตั้งจาก Microsoft ที่ล็อคอินด้วย Email ของมหาวิทยาลัย


Q: ถ้าเข้า Store แล้วไม่พบ add-in ต้องทำอย่างไร ?

A: เกิดจากไม่ได้ login ด้วย Microsoft Email ที่ Microsoft Word มักเกิดกับ Office 2021 ที่สามารถใช้งานได้เลยโดยที่ไม่ต้อง login


Q: ถ้าติดตั้งแล้ว add-in ไม่ขึ้นที่แถบเมนู ?

A: ให้ตรวจสอบเวอร์ชันของ Microsoft Word ที่ใช้งานอยู่ ต้องเป็น Office 2021 หรือ Microsoft 365 หรือให้ตรวจสอบการตั้งค่า Add-in ที่ trust center


Q: ถ้าติดตั้งแล้วใช้งานไป อยู่ ๆ add-in หายไปจากแถบเมนู ?

A: ให้ตรวจสอบ account ที่ login ที่ Microsoft Word อาจมีการ login ไว้มากกว่า 1 บัญชี


Q: ใช้งานกับ Microsoft Word เวอร์ชันใดได้บ้าง?

A: Microsoft 365 หรือ Office 2021 โดยสำหรับ Office 2021 จำเป็นจะต้อง login ด้วย Microsoft Account เพื่อใช้งาน Office Store


Q: Office LTSC สามารถใช้งาน iThesis Add-in เวอร์ชันนี้ได้หรือไม่ ?

A: Office LTSC หรือ Office Long Term Servicing Channel เป็นการซื้อลิขสิทธิ์แบบใช้งานได้ตลอดชีวิต ซึ่ง Office LTSC เวอร์ชันที่สามารถใช้งาน iThesis Add-in ได้คือ Office LTSC 2021 ขึ้นไป สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Office LTSC ได้ที่ https://learn.microsoft.com/en-us/office/ltsc/2021/overview 


Q: ใช้ Email ส่วนตัวหรือจำเป็นต้องใช้ Email ที่มหาวิทยาลัยจัดสรรให้ ?

A: สามารถใช้ได้ทั้งสองแบบ โดย Email ส่วนตัวที่มีการซื้อ license ของ Microsoft 365 สามารถใช้งาน Office Add-in ได้ทุกกรณี ในส่วนของ Email มหาวิทยาลัยจะต้องตรวจสอบสิทธิ์การใช้งาน หากเข้า Office Store แล้วขึ้นข้อความว่า “ขออภัยองค์กรของคุณได้ปิดใช้งานการเข้าถึง office  store โปรดติดต่อผู้ดูแลระบบของคุณเพื่อขอการเข้าถึง” ให้ติดต่อผู้ดูแลบัญชีไมโครซอฟต์ของมหาวิทยาลัย


Q: หากไม่มีชื่อมหาวิทยาลัยให้เลือก ให้เข้าใช้งานแบบใด ?

A: ไม่สามารถใช้งาน เนื่องจากปัจจุบันระบบไอทีสิสใช้งานได้เฉพาะมหาวิทยาลัยที่ subscription ระบบเท่านั้น


การใช้งาน iThesis Add-in บน Microsoft Word และ Mendeley Cite


Q: Add-in ที่ขึ้น Logo มหาวิทยาลัย ต่างกับ Add-in นี้อย่างไร ?

A: Add-in ที่มี Logo มหาวิทยาลัยเป็น Add-in ตัวเก่าที่ใช้งานได้เฉพาะบน Windows โดยปัจจุบันไม่ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมแล้ว


Q: หากต้องการย้ายจาก iThesis Add-in ตัวเก่ามาใช้ iThesis Add-in ตัวใหม่ ทำอย่างไร ?

A: หากเริ่มทำวิทยานิพนธ์โดยใช้งาน Add-in ตัวเก่าแล้ว ให้มา Generate template ที่ Add-in ตัวใหม่ (เชื่อมต่อข้อมูลกับ iThesis Web Portal แล้ว) จากนั้น Copy เนื้อหาจากไฟล์เดิมมาวางที่ไฟล์ใหม่ได้เลย 


Q: ถ้าจะใช้งาน iThesis Office Add-in แต่เทมเพลตที่สร้างขึ้นมายังไม่เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทำอย่างไร ?

A: เบื้องต้นทีมงานจะทำการตั้งค่าเทมเพลตให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่อาจจะมีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ยังไม่สามารถตั้งค่าได้เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้งานพบปัญหา สามารถติดต่อได้ผู้ดูแลระบบของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ประสานงานแก้ไขต่อไป


Q: Add-in เก่าจะใช้ได้อีกนานแค่ไหน ?

A: ปัจจุบันยังไม่มีประกาศยกเลิกใช้งาน Add-in ตัวเก่า ทั้งนี้สำหรับมหาวิทยาลัยที่ติดตั้งใหม่ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไปจะไม่สามารถใช้ Add-in ตัวเก่าได้ โดยสามารถติดตามประกาศได้ทางเพจ iThesis Nex-Gen 


Q: ใครใช้งาน iThesis add-in ได้บ้าง บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้หรือไม่ ?

A: ปัจจุบันบุคคลทั่วไปยังไม่สามารถใช้งานได้ จะใช้ได้เฉพาะนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยที่ subscription ระบบเท่านั้น เนื่องจากระบบต้องเชื่อมโยงกับข้อมูลพื้นฐานของทางมหาวิทยาลัย


Q: สามารถโหลดทั้งเล่มเข้าไปได้เลยหรือไม่หากทำเสร็จแต่แรกแล้ว ?

A: ให้เริ่มต้นจากการ Generate template จาก iThesis Office Add-in แล้วจึงนำเนื้อหามาวางที่ส่วนที่จัดเตรียม และกรอกข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ รายชื่อคณะกรรมการสอบ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ และประวัติผู้เขียน ลงที่กล่องข้อความที่กำหนดบน template ให้ระมัดระวังในการกรอกข้อมูลไม่ให้กรอกนอกกล่องข้อความ เนื่องจากจะทำให้ข้อมูลที่เข้าระบบไม่ครบถ้วน


Q: ทำแบบแยกบท หรือรวมดีกว่ากัน ?

A: ทำแบบรวมทุกอย่างในไฟล์เดียวกันจะดีที่สุดเนื่องจากสามารถทำสารบัญอัตโนมัติได้และเลขหน้าจะเรียงอย่างถูกต้อง โดยเมื่อจัดทำเล่มวิทยานิพนธ์ผ่านระบบไอทีสิสจำเป็นจะต้องทำแบบรวม


Q: เลขสารบัญอันใหม่อัตโนมัติหรือไม่ ต้องลบอันเก่าทิ้งหรือไม่ ?

A: การใช้งานสารบัญอัตโนมัติของ iThesis Office Add-in เป็นไปตามรูปแบบสารบัญอัตโนมัติของ Microsoft Word สามารถลบออกและเพิ่มใหม่ได้ผ่านเมนูของ Microsoft Word หรือสามารถคลิ๊กขวาและเลือก update field ได้


Q: เวลาทำเล่มบนระบบ iThesis ทำเหมือนกับใช้ Microsoft Word ใช่หรือไม่ ?

A: ใช่ ในส่วนของการทำเล่มวิทยานิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดรูปแบบ การใช้งานสารบัญอัตโนมัติ หรือแม้แต่การทำรูปและตาราง ล้วนเป็นการใช้งานฟังก์ชันของ Microsoft Word โดย iThesis Add-in เป็นเพียงโปรแกรมเสริมให้สามารถสร้างรูปเล่มตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด บันทึกข้อมูลที่จำเป็น และอัปโหลดเข้าสู่ระบบเพื่อขออนุมัติต่อไป


Q: เมื่อ Copy และ Paste เนื้อหามาแล้วส่วนของ Citation ขึ้นว่า Error เป็นเพราะอะไร ?

A: Citation หรือรายการอ้างอิงหากจัดทำด้วยโปรแกรม Reference Manager ซึ่งเป็นโปรแกรม 3rd party มีโอกาสเกิด Error ได้ โดยอาจเกิดจากการเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรม Microsoft Word กับ Reference Manager


Q: Mendeley ใช้ได้กับ Office ทุกเวอร์ชันหรือไม่ ?

A: สามารถใช้งานกับ Microsoft Word ที่ติดตั้ง Office Add-in ได้ สามารถตรวจสอบรุ่นของ Microsoft Word ที่ใช้งานบน Windows และ Macbook ได้จาก https://learn.microsoft.com/en-us/office/dev/add-ins/concepts/browsers-used-by-office-web-add-ins


Q: การเอาเนื้อหาเข้าสามารถ copy & paste แบบไม่เอา format มาได้หรือไม่ เนื่องจาก paste แบบมี format แล้วอ้างอิง error ?

A: สามารถคลิ๊กขวาก่อนวางข้อมูลแล้วเลือกวางเฉพาะ text (paste text only) ได้ โดยหากใช้วิธีนี้แนะนำให้ทำทีละย่อหน้า ไม่ควรทำทีเดียวทั้งเอกสารเนื่องจากจะต้องมาจัดรูปแบบใหม่ทั้งหมด


Q: เมื่อเปลี่ยนข้อมูลให้ Generate ตัวอ้างอิงใหม่ด้วยหรือไม่ ?

A: ข้อมูลที่ทำลงระบบไอทีสิส ได้แก่ หัวข้อวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการสอบ บทคัดย่อ และกิตติกรรมประกาศ จะเก็บไว้ที่ Web application ส่วนรายการอ้างอิงที่จัดทำด้วยโปรแกรมจัดทำรายการอ้างอิง (Reference Manager) จะเก็บไว้ที่คอมพิวเตอร์กรณีเป็นโปรแกรมที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ หรือเก็บไว้บนเว็บไซต์กรณีเป็น Add-in ทั้งนี้หากมีการเพิ่มลดข้อมูลที่เอกสารจำเป็นจะต้องอัปเดตให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด


Q: มีภาคผนวกจะนำเข้าระบบไอทีสิสให้นำเข้าตรงไหน ?

A: จะมีหน้าสำหรับวางภาคผนวก โดยวางต่อจากรวยการอ้างอิงหรือบรรณานุกรม สามารถวางภาคผนวกไว้ที่ส่วนนั้นได้เลย


ระบบไอทีสิสบนเว็บพอร์ทัล และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง


Q: สามารถส่งเล่ม draft กับ complete ใกล้ ๆ กันได้หรือไม่ พอดีอาจารย์อยากให้ส่งที่ปรับเรียบร้อยแล้วพร้อมกันไป ?

A: ขึ้นกับข้อกำหนดของทางมหาวิทยาลัย โดยระบบจะบันทึกกิจกรรมตามที่ดำเนินการจริง อาจมีผลเมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ


Q: กรณีที่มีไฟล์ค้างใน iThesis อันเก่าอยู่แล้ว ถ้าทำ iThesis อันใหม่นี้ทับไป ไฟล์เดิมจะเสียหายหรือโดนทับไปหรือไม่ ?

A: การใช้งาน iThesis Add-in ให้มองว่าเป็นเครื่องมือในการทำไฟล์เล่มวิทยานิพนธ์ โดยเมื่อ Save to cloud เข้าระบบไอทีสิสที่เป็นเว็บแอปพลิเคชัน (ซึ่ง ณ ปัจจุบันมี 1 เว็บต่อ 1 มหาวิทยาลัย) ไฟล์ที่อัปโหลดไปจะไม่ทับของเดิม โดยสามารถดูจาก revision ได้ แต่ไฟล์ที่สร้างจาก Add-in คนละตัวจะไม่สามารถใช้ร่วมกันได้


Q: ระบบไอทีสิสมีโอกาสล่มหรือไม่ กรณีนำเข้าข้อมูลครบแล้ว หรือสามารถกู้คืนได้หรือไม่ ?

A: หากระบบล่มหมายถึงการเข้าสู่หน้าเว็บไม่ได้ ไม่ได้หมายรวมถึงการที่ข้อมูลจะสูญหาย ระบบไอทีสิสของมหาวิทยาลัยมีการทำสำรองข้อมูลไว้แล้ว โดยนักศึกษาสามารถร้องขอข้อมูลที่ต้องการได้ หากมีการบันทึกไฟล์เข้าระบบอย่างถูกต้อง


Q: พอดีใช้อีกเวอร์ชันแล้ว generate มาแล้วหน้าอนุมัติเบี้ยว แก้ไขอย่างไร ?

A: เนื่องจากเวอร์ชันเก่า ไม่ได้มีการพัฒนาต่อแล้ว หากพบปัญหาการใช้แนะนำให้ใช้เวอร์ชันใหม่ จะสามารถใช้งานได้เสถียรกว่า


Q: กรรมการภายนอกไม่มีชื่อในระบบ ?

A: แจ้งกับเจ้าหน้าที่หลักสูตร หรือเจ้าหน้าที่คณะ ประจำมหาวิทยาลัยที่สังกัดให้ดำเนินการเพิ่มรายชื่อให้


Q: ทำไมมี complete แล้วต้องมี draft อีก ?

A: กระบวนการส่งอนุมัติในระบบไอทีสิส แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่

      1. Proposal หมายถึงโครงร่างวิทยานิพนธ์ เป็นฉบับที่ได้รับอนุมัติให้สอบโครงร่างฯ หรือแก้ไขหลังจากสอบโครงร่างฯ แล้ว

      2. Draft หมายถึงร่างวิทยานิพนธ์ เป็นฉบับที่ใกล้เคียงกับเล่มสมบูรณ์ที่สุด คือมีเนื้อหาครบถ้วนตามที่วิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ควรจะมี ใช้สำหรับการขอสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ โดยในขั้นตอนนี้บางมหาวิทยาลัยจะใช้อีเมลที่ได้รับในการอนุมัตินี้เป็นหลักฐานประกอบการขอสอบปกป้องวิทยานิพนธ์

      3. Complete หมายถึง วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ เป็นฉบับที่พร้อมจะนำส่งบัณฑิตวิทยาลัยโดยได้รับการแก้ไขตามข้อคิดเห็นของคณะกรรมการสอบหลังจากสอบปกป้องวิทยานิพนธ์แล้ว

โดย 3 ขั้นตอนนี้ขึ้นกับข้อกำหนดใช้งานของมหาวิทยาลัย อาจพบว่าบางมหาวิทยาลัยหรือบางแผนการเรียนมีแค่ 2 ขั้นตอน ได้แก่ Proposal และ Complete ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่มหาวิทยาลัยกำหนดและสอบถามเพิ่มเติมกับมหาวิทยาลัยที่สังกัด


Q: ระบบไอทีสิสใช้ได้เฉพาะบัณฑิตวิทยาลัยหรือไม่ ?

A: ขึ้นกับนโยบายของมหาวิทยาลัย หากมหาวิทยาลัยนำเข้าข้อมูลของนักศึกษาทุกคณะแล้ว รวมถึงสร้าง account แล้ว ก็สามารถใช้งานได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นบัณฑิตวิทยาลัยเท่านั้น


Q: iThesis HQ มีเจ้าหน้าที่ตอบตลอดเวลาใช่หรือไม่ ?

A: iThesis HQ ดูแลโดยผู้พัฒนาระบบ จะมีทีมงานตอบคำถามในเวลาทำการ (9.00 น. - 18.00 น.) โดยส่วนใหญ่ ทีมงานจะดูแลปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาจากตัวระบบโดยตรง ปัญหาบางอย่างอาจขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัย อาจจะต้องประสานกับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยอีกครั้ง ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก iThesis Help Center ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ https://help.ithesis.co/portal/en/kb/ithesis-nex-gen