Beginner 05: การกรอกข้อมูลที่ Submission

Beginner 05: การกรอกข้อมูลที่ Submission

Submission เป็นเมนูสำหรับกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย เพื่อนำไปสร้างเอกสารใบนำส่ง (Submission Document) ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้แนบส่งไปกับรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ โดยจะสามารถกรอกได้หลังจากผู้เรียน/ผู้วิจัยดำเนินการส่งรูปเล่มจนถึงสถานะสุดท้าย หรือ Submission บนระบบไอทีสิส สำหรับหัวข้อที่จะต้องกรอกนั้น ประกอบด้วย

1. Plagiarism Detecion เมนูสำหรับบันทึกผลการตรวจลักลอกวรรณกรรมที่ตรวจสอบจากภายนอกระบบ โดยมีรายการให้เลือกแนบเอกสารตามที่มีในระบบ ได้แก่ Akarawisut, Copyleaks, iThenticate, PlagiarismCheck, Turnitin และ Unicheck โดยจะต้องมีการกรอกค่าผลตรวจลักลอกวรรณกรรม จากนั้นวาง link ผลการตรวจหรือแนบไฟล์ผลตรวจรูปแบบ PDF ตามแต่ที่ผู้ให้บริการจะมีให้ โดยกรอกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง 


 
2. Evaluation & Dissemmination - เป็นเมนูสำหรับบันทึกผลการประเมินงานวิจัยของผู้วิจัย (evaluation) หรือเรียกว่า ผลการสอบปกป้องวิทยานิพนธ์ และข้อตกลงการเผยแพร่รูปเล่มวิทยาลัยหรือวิทยานิพนธ์โดยแบ่งเป็นการยินยอมให้เผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และผ่านเว็บไซต์ ซึ่งในที่นี้ผู้เรียน/ผู้วิจัยสามารถเลือกได้ว่าจะเผยแพร่ หรือปกปิด โดยหากเลือกปกปิดให้ทำการเลือกเหตุผล และวันที่สามารถเผยแพร่ได้ โดยมีระยะเวลาปกปิดได้ไม่เกิน 10 ปีนับจากวันที่ปัจจุบันที่กรอกข้อมูล ในส่วนนี้อาจขึ้นกับข้อกำหนดของแต่ละสถาบัน ให้ผู้เรียน/ผู้วิจัยสอบถามกับเจ้าหน้าที่หลักสูตรก่อนเพื่อความแน่นอน


3. Research Mapping - เป็นเมนูสำหรับให้ผู้เรียน/ผู้วิจัย (ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา) เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับงานวิจัยที่จัดทำ 

โดยสำหรับหัวข้อ Subject Area / Subject Category และ Research projects on จะสามารถเลือกได้หลายรายการ 
ส่วนหัวข้อ Thailand Standard Industrial Classification (TSIC) และ The International Standard Classification of Education (ISCED) ผู้เรียนจะเลือกเพียง 1 หัวข้อ


โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลที่กรอกนี้ได้ที่เอกสาร Submission Document ในขั้นตอนของ Submission 







    • Related Articles

    • Beginner 02: Start using iThesis NexGen - เริ่มต้นใช้งานครั้งแรกสำหรับนักศึกษา

      ผู้ใช้งานจะเริ่มใช้งาน iThesis NexGen ได้ จะต้องได้รับอีเมลเชิญเข้าใช้งานระบบ NexGen ผ่านทางอีเมลของสถาบัน โดยให้กดที่ Join iThesis NexGen ระบบจะนำคุณไปที่ https://app.ithesis.co/ โดยจะต้องทำการสมัครสมาชิกของ NexGen ก่อน ...
    • Beginner 01: แนะนำเมนูใช้งาน NexGen ของนักศึกษา - NexGen for Student

      เมื่อนักศึกษาเข้าสู่ระบบ NexGen และเลือกบัญชีใช้งานของนักศึกษา จะพบกับหน้าเมนูใช้งานของนักศึกษา ได้แก่ Revision, Committee, Submission และ Publication Revision & Feedback Revision & Feedback เป็นหน้าเมนูแสดงรายการอัปโหลดไฟล์จาก iThesis Add-in ...
    • Beginner 06: การกรอกข้อมูล Publication

      สำหรับนักศึกษาที่มีผลงานตีพิมพ์อันเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ หรือมีการตีพิมพ์กับวารสารงานประชุมวิชาการ รวมไปถึงการจัดทำทรัพย์สินทางปัญญา และต้องระบุข้อมูลส่วนนี้เพื่อประกอบการสำเร็จการศึกษา สามารถกรอกข้อมูลได้ที่เมนู Publication ...
    • Beginner 04: การส่งขออนุมัติเอกสารวิจัยผ่าน NexGen Web

      การส่งขออนุมัติผ่านระบบจะสามารถดำเนินการได้เมื่อนักศึกษาอัปโหลดไฟล์เอกสารผ่าน iThesis Add-in (NexGen) ที่ติดตั้งบน Microsoft Word เข้าสู่ระบบแล้ว และได้ตรวจสอบการลักลอกวรรณกรรมเรียบร้อยแล้วอย่างน้อย 1 รายการ ...
    • Beginner 07: การแก้ไขหัวข้อ Revise Topic

      โดยส่วนมากเมื่อผู้เรียนยังอยู่ในสถานะเริ่มต้น หรือกำลังทำโครงร่าง / ข้อเสนอ / Proposal ผู้เรียนจะสามารถบันทึกชื่อหัวข้อได้ตามต้องการ โดยส่วนมากจะแนะนำให้แก้ไขที่ iThesis Add-in เพื่อความสะดวก ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนผ่านสถานะโครงร่าง (proposal) มาแล้ว ...